- Details
- Category: สำนักนายกฯ
- Published: Thursday, 11 January 2018 18:48
- Hits: 11088
สมคิด` มองจีดีพี Q4/60 มีโอกาสโตได้ถึง 5% ชี้หุ้นไทยพุ่งแรง รับศก.สดใส สั่ง ก.ดีอี เร่งออกกฎหมายดิจิทัลภายในปีนี้
'สมคิด' มองจีดีพี Q4/60 มีโอกาสโตได้ถึง 5% แย้มให้คลังทำงบกลางปีปฏิรูปเกษตร ยกระดับคุณภาพลดเหลื่อมล้ำ หวังปฏิรูปการเกษตรและยกระดับฐานราก สั่ง ก.ดีอี เร่งออกกฎหมายดิจิทัลภายในปีนี้ คุมเข้มธุรกรรมดิจิทัล ช่วยกระตุ้นศก. ชี้หุ้นไทยพุ่งแรง รับศก.ดี หลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน EEC สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษ พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สู่ยุคดิจิทัล จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า ในปี 2561 นี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2560 คาดการณ์ว่ามีโอกาสที่จะขยายตัวได้ถึง 5% โดยในปีนี้ สิ่งที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการคือ การปฏิรูปภาคการเกตร การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยกระทรวงการคลังจะเร่งพิจารณาจัดทำงบกลางปี เพื่อปฏิรูปการเกษตรและยกระดับฐานราก เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปีนี้
ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีดัชนีตลาดหุ้นไทยพุ่งทะยานดี สะท้อนภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้ จากการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC และแนวโน้มการปฏิรูปประเทศที่ทันสมัย
“นักลงทุนจะไม่มาไทยได้อย่างไร เมื่อจีดีพี Q4/60 หลายคนบอกจะใกล้ 4.5% แต่ผมมองว่าจะมีโอกาสถึง 5% และทั้งปีมีโอกาสที่จะถึง 4% ได้ โดยโมเมนตัมมันมาเรื่อยๆ โดยสิ่งสำคัญมันมาจากความเชื่อมั่นของประชนชนสำคัญที่สุด โดยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนสูงสุดในรอบ 35 เดือน และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมสูงสุดในรอบ 22 เดือน มาถึงตอนนี้ผมอยากให้ทุกท่านวัดเองว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ หากเห็นว่าอันไหนไม่ดีให้มาบอกด้วย”นายสมคิด กล่าว
นายสมคิด กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือภาคเกษตร และผู้มีรายได้น้อยนั้น เมื่อวานนี้คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้มีมติเห็นชอบ มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยระยะที่ 2 ซึ่งในเฟสแรกนั้น รัฐบาลได้เพิ่มวงเงินในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นให้กับผู้มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือ มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 500 บาท และหากมีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อปี จะได้วงเงินเพิ่มเป็น 300 บาท แต่ทั้งนี้จะตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดว่าผู้มีรายได้น้อยจะต้องพัฒนา สร้างอาชีพด้วย ขณะเดียวกันยังดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุน โดยให้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีกับผู้ประกอบการที่ใช้จ่ายเพื่อการอบรม หรือ พัฒนาทักษะแรงงานให้กับผู้มีรายได้น้อย ด้วย
สำหรับ การช่วยเหลือภาคเกษตรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. เพื่อยกระดับการเกษตรของประเทศไทย โดยจะพิจารณาเป็นรายกลุ่ม รายจังหวัด ว่าในแต่ละพื้นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือ หรือดำเนินการในลักษณะใดบ้าง รวมถึงจะต้องร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมด้วย ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี จะตั้งทีมงานเพื่อดูแลกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะ เพื่อให้การเติบโตในเศรษฐกิจฐานรากแข็งแรงและกระจายตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษีย์ไทย ร่วมกันสร้างตลาดอีคอมเมิร์ซในร้านโชว์ห่วย และร้านค้าประชาชน โดยให้สามารถซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยมอบหมายให้นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหัวหน้าทีม ในการศึกษาและพิจารณาด้านกฎหมายดิจิทัลให้มีความทันสมัย รองรับกับสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการ โดยจะต้องให้ได้ความชัดเจนภายในปีนี้
ขณะที่ในระยะต่อไปจะสร้างให้ฐานรากมีความเข้มแข็ง เนื่องจากในช่วงยุคดิจิทัล หากประเทศไทยไม่ปฏิรูปประเทศเพื่อรองรับ จะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวเท่าทันกับโลกได้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้กลุ่มที่มีความสามารถ หรือ มี Innovation tranform จะทำให้แรงงานที่มีทักษะมีรายได้เพิ่ม และการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย
“ในเวลานี้ หากเราไม่ปรับตัวจะต้องช้าแน่นอน ด้านแรงงานจะพบว่า หากกลุ่มไหนที่พัฒนาแรงงานได้จะทำให้มีรายได้มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามที่มีข้อเรียกร้อง แต่ทุกฝ่ายจะต้องหารือร่วมกันก่อน ให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน อยู่ร่วมกันได้”นายสมคิด กล่าว
สมคิด เผยหุ้นไทยพุ่งจากนลท.เชื่อมั่น หลังเศรษฐกิจฟื้น,คาดจีดีพี Q4/60 มีโอกาสเติบโต 5%
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ปาฐกถาพิเศษ "พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สู่ยุคดิจิทัล" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า ตั้งแต่เปิดปี 61 มานี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างมากซึ่งสะท้อนภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวได้อย่างดี ซึ่งเป็นผลมาจากการการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมไปถึงการปฎิรูปเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/60 มีโอกาสที่จะขยายตัวได้ถึง 5%
พร้อมกันนี้ มองว่า หากการเมืองนิ่ง การเลือกตั้งผ่านไปด้วยความราบรื่น และมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งแล้ว ก็จะเป็นตัวสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าไปและขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีทิศทางแบบนี้เงินทุนต่างชาติจะยังคงไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการคือ การปฏิรูปภาคการเกษตร การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยกระทรวงการคลังจะเร่งพิจารณาจัดทำงบกลางปี เพื่อปฏิรูปการเกษตรและยกระดับฐานราก เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปีนี้
“นักลงทุนจะไม่มาไทยได้อย่างไร 2 ปีที่ผ่านมาการเข้ามาเปรียบเหมือนเราเป็นอู่รถที่ต้องเข้ามาปรับจูนเครื่องยนต์ให้สามารถวิ่งได้ จากเดิมอาจจะวิ่งได้แค่ 40 มาเป็น 80 และเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในอนาคตหากคู่แข่งสามารถวิ่งไปได้ถึง 180-200 เราคงไม่ใช่เป็นแค่การจูนเครื่องแล้ว แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์บางเครื่อง เปรียบเหมือนกับการปฎิรูปประเทศที่จะเกิดขึ้น และหากจะต้องแข่งขันได้คือต้องมีช่างฟิตเป็นแรงงานที่สำคัญ ซึ่งในช่วงไตรมาส 4/60 หลายคนบอก GDP จะใกล้ 4.5% แต่ผมมองว่าจะมีโอกาสถึง 5% และทั้งปีมีโอกาสที่จะถึง 4% ได้ โดยสิ่งสำคัญมันมาจากความเชื่อมั่นของประชนชนสำคัญที่สุด ซึ่งในเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนสูงสุดในรอบ 35 เดือน และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมสูงสุดในรอบ 22 เดือน มาถึงตอนนี้ผมอยากให้ทุกท่านวัดเองว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ หากเห็นว่าอันไหนไม่ดีให้มาบอกด้วย"นายสมคิด กล่าว
สำหรับ เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้องมีการหารือกันในคณะกรรมการไตรภาคีก่อน แต่อย่างไรก็ตามมองว่าค่าแรงไม่ควรที่จะต่ำเตี้ยเรี่ยดินแบบนี้ แต่อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นต้องมีความรอบคอบ
นายสมคิด กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือภาคเกษตร และผู้มีรายได้น้อยนั้น วานนี้คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้มีมติเห็นชอบ มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยระยะที่ 2 ซึ่งในเฟสแรกนั้น รัฐบาลได้เพิ่มวงเงินในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นให้กับผู้มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือ มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 500 บาท และหากมีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อปี จะได้วงเงินเพิ่มเป็น 300 บาท แต่อย่างไรก็ตามจะตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนดว่าผู้มีรายได้น้อยจะต้องพัฒนา สร้างอาชีพด้วย ขณะเดียวกันยังดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุน โดยให้สิทธิประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีกับผู้ประกอบการที่ใช้จ่ายเพื่อการอบรม หรือ พัฒนาทักษะแรงงานให้กับผู้มีรายได้น้อย ด้วย
สำหรับ การช่วยเหลือภาคเกษตรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างหารือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. เพื่อยกระดับการเกษตรของประเทศไทย โดยจะพิจารณาเป็นรายกลุ่ม รายจังหวัด ว่าในแต่ละพื้นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือ หรือดำเนินการในลักษณะใดบ้าง รวมถึงจะต้องร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมด้วย ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี จะตั้งทีมงานเพื่อดูแลกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะ เพื่อให้การเติบโตในเศรษฐกิจฐานรากแข็งแรงและกระจายตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ บมจ.กสท โทรคมนาคม บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกันสร้างตลาดอีคอมเมิร์สในร้านโชว์ห่วย และร้านค้าประชาชน โดยให้สามารถซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยมอบหมายให้นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหัวหน้าทีม ในการศึกษาและพิจารณาด้านกฎหมายดิจิทัลให้มีความทันสมัย รองรับกับสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการ โดยจะต้องให้ได้ความชัดเจนภายในปีนี้
ขณะที่ในระยะต่อไปจะสร้างให้ฐานรากมีความเข้มแข็ง เนื่องจากในช่วงยุคดิจิทัล หากประเทศไทยไม่ปฏิรูปประเทศเพื่อรองรับ จะทำให้ประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวเท่าทันกับโลกได้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้กลุ่มที่มีความสามารถ หรือ มี Innovation transform จะทำให้แรงงานที่มีทักษะมีรายได้เพิ่ม และการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย
อินโฟเควสท์
รมว.อุตสาหกรรม ชี้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นช่วยสร้างโอกาสและความท้าทาย-แก้ปัญหาได้เหมาะสมและตรงจุด
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ "พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สู่ยุคดิจิทัล" โดยระบุว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งแม้ในภาพรวมจะมองว่าประเทศรายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน จะได้รับประโยชน์จากยุคดิจิทัลเทคโนโลยีมากที่สุดนั้น แต่ในความจริงแล้วประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยเอง จะสามารถใช้ประโยชน์จากยุคดิจิทัลมาพัฒนาประเทศได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้แก้ปัญหาประเทศในหลากหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา บริการสาธารณสุข ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืน
"เทคโนโลยีดิจิทัลนำมาทั้งโอกาสและความท้าทาย ประเทศเราที่ผ่านมามีปัญหาทั้งความเหลื่อมล้ำ ความยากจน แต่เราสามารถได้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายมุม ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา บริการสาธารณสุข ซึ่งถ้าแก้ไขได้ก็จะทำให้ GDP โตได้อย่างยั่งยืน การใช้เทคโนโลยีเป็นโอกาสที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้มากขึ้น ถ้าเราไม่ก้าวสู่ยุคดิจิทัลโดยเร็วและถูกทิศทาง เราจะตกขบวนรถไฟดิจิทัล" รมว.อุตสาหกรรม กล่าว
พร้อมเห็นว่า ในปี 61 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างชัดเจนทั้งในภาคของประชาชน, ภาคธุรกิจเอกชน ที่ต่างตื่นตัวกับเรื่องนี้ และภาครัฐบาลที่วางนโยบายเพื่อที่จะทำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม วางรากฐานสู่ยุคดิจิทัลให้แก่ประเทศ ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบได้ภายใน 10 ปีนับจากนี้
"เราต้องการสร้างความตระหนัก และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้าใจว่าดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น และต้องใจถึงที่จะกล้าลองใช้สิ่งใหม่ ต้องมีการปรับ mind set ในส่วนนี้" รมว.อุตสาหกรรม กล่าว
โดยในภาคอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะปรับให้เข้าสู่ดิจิทัลเทคโนโลยีใน 4 ส่วนที่สำคัญคือ 1. อุตสาหกรรมใน 10 กลุ่มเป้าหมาย 2. ธุรกิจในทุกระดับตั้งแต่ฐานรากจนถึงระดับบน 3. กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับปรุงให้รองรับกับยุคดิจิทัล และ 4. การสร้างระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดให้มีการเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
รมว.อุตสาหกรรม กล่าวด้วยว่า สำหรับความช่วยเหลือของภาครัฐที่มีต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลนั้น ขณะนี้รัฐบาลกำลังจัดทำ Big Data ข้อมูลของ SME ทั่วประเทศเป็นครั้งแรกที่ได้มาขึ้นทะเบียนไว้กว่า 3.3 ล้านราย รวมทั้งจัดทำ Big Data ข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อจะทำให้ภาครัฐได้ทราบข้อมูลต่างๆ ของ SME ในแต่ละราย และโรงงานอุตสาหกรรมในแต่ละแห่งว่าประสบปัญหาอย่างไร และต้องการให้รัฐบาลเข้าไปให้การช่วยเหลือในด้านใด เพื่อที่รัฐบาลจะได้จัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและตรงจุด
อินโฟเควสท์